AMS-MT

TH | EN
คณะเทคนิคการแพทย์ | ภาควิชาเทคนิคการแพทย์
หน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ ไทย-ฝรั่งเศส
Franco-Thai Medical Science Research Unit
 
   
ผู้ประสานงานฝ่ายไทย:
ผศ.ดร. วาสนา ศิริรังษี
 
ผู้ประสานงานฝ่ายฝรั่งเศส:
Dr.Gonzague Jourdain
 
กรรมการบริหารและผู้ร่วมโครงการฝ่ายไทย:
ศ.ดร.ชัชชัย ตะยาภิวัฒนา
ศ.ดร.สาคร พรประเสริฐ
ผศ.ดร.รัชดา เครสซี่
ผศ.ดร.พานทอง สิงห์บุตรา
ผศ.ดร.อุษณีย์ อนุกูล
อ.ประพัณฐ์ หลวงสุข
อ.ดร.พลรัตน์ พันธุ์แพ
อ.ดร.ขนิษฐา พันธุรี
อ.ดร.วุฒิชัย คำดวง
อ.ดร.เนตรดาว คงใหญ่
อ.ดร.ธนวรรณ สำลีรัตน์
 
 
ความเป็นมา
 
ความร่วมมือในการศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศส ที่มีคณะเทคนิคการแพทย์เป็นผู้แทนฝ่ายไทย (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กระทรวงสาธารณสุข และมหาวิทยาลัยมหิดล) และผู้แทนฝ่ายฝรั่งเศสคือหน่วยวิจัย Perinatal HIV Prevention and Treatment (PHPT) จาก Institute of  Research and Development (IRD) เริ่มต้นเมื่อพ.ศ. 2544 ในโครงการ “การรวบรวมกลยุทธ์เพื่อการป้องกันและดูแลสุขภาพของมารดา และทารกในส่วนที่เกี่ยวกับเชื้อเอชไอวีในประเทศไทย” โครงการ 5 ปีและปัจจุบันได้รับอนุมัติให้ดำเนินการต่อเนื่องอีก 5 ปีในเรื่อง “การป้องกันและการรักษาเอชไอวีที่ให้ผลดีที่สุดภายใต้แผนขยายการเข้าถึงการดูแลรักษาเอชไอวีอย่างทั่วถึงในประเทศไทย/ Optimization of  HIV Prevention and Treatment in the Context of  the Expanding Universal Access to HIV Care in Thailand” ในขณะเดียวกันได้รับการสนับสนุนจาก Franco-Thai Collaboration Program in Higher Education and Research (โครงการ 4 ปี; 2548-2551) ผ่านคณะกรรมการการอุดมศึกษาภายใต้หัวข้อ “Optimizing the prevention of mother to child trans mission of HIV and the care for HIV infected infants and adults in Thailand” ที่มุ่งส่งเสริมความร่วมมือระหว่าง 2 ประเทศ ดังนั้นหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ไทย-ฝรั่งเศสที่จัดตั้งขึ้น ณ คณะเทคนิคการแพทย์ จึงเป็นศูนย์ประสานความร่วมมือด้านการวิจัย เป็นที่ตั้งของห้องปฏิบัติการพิเศษที่มีเครื่องมือ Automate DNA Sequencer  ศักยภาพสูง และเครื่อง High Performance Liquid Chromatography ที่บุคลากรและนักศึกษาสามารถใช้ประโยชน์ได้ โดยมีผู้เชี่ยวชาญฝรั่งเศสประจำโครงการเป็นที่ปรึกษา
 
ชื่อโครงการวิจัยและสถาบันภายใต้  Franco-Thai Collaboration Program in Higher Education and Research:
 
1) การศึกษาสิ่งบ่งชี้ทางโมเลกุลและทางภูมิคุ้มกันไวรัสวิทยาของการถ่ายทอดเชื้อเอช ไอ วี จากมารดาสู่ทารก: มหาวิทยาลัยทัวส์ ประเทศฝรั่งเศส, คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, IRD/PHPT
 
2) การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของผู้ติดเชื้อต่อการถ่ายทอดเชื้อเอช ไอ วี-1 จากมารดาสู่ทารกและการพัฒนาโรค: INSERM, CHU P Pitié Salpétrière, คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยมหิดล, IRD/PHPT
 
3) การเกิดความเป็นพิษของยาไซโดวูดิน (ZDV) ในหญิงไทยที่ได้รับการรักษาด้วยยาไซโดวูดินเพื่อป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอช ไอ วี จากมารดาสู่ทารก: Paris XI University, คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, IRD/PHPT
 
4) การศึกษาทางเภสัชพันธุศาสตร์ของยาต้านไวรัสในผู้ติดเชื้อเอช ไอ วี ชาวไทย: การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับระดับความเข้มข้นของยาต้าน
ไวรัสในพลาสม่าในกลุ่มประชากรไทย: คณะแพทยศาสตร์ รามาธิบดี มหาวิทยาลัย มหิดล, IRD/PHPT
 
5) การพัฒนาเทคนิคทางภูมิคุ้มกันวิทยาอย่างง่ายสำหรับการประเมินระดับยาต้านไว รัสในพลาสม่าสำหรับการศึกษาทางเภสัชจลนศาสตร์และการติดตามระดับยาในการรักษา (Therapuetic Drug Monitorong, TDM): คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, IRD/PHPT; Laboratoire de Modélisation et Ingéniérie des Protéines, Université de Paris-Su
 
6) การขยายบริการเกี่ยวกับการวินิจฉัยวัณโรค (Tuberculosis/MAC) และการบริการด้านการวิจัย: คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, IRD/PHPT, CHU Ambroise Paré
 
 
 
รายงานของกลุ่มวิจัย AMS-PHPT และผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่าง คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ โครงการ Program for HIV Prevention and Treatment (PHPT)ปี 2011-2016
 
wrapkit
AMS CMU © 2019 All rights reserved.

คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

110 ถนนอินทวโรรส ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200

8.00 AM - 6:00PM

+6653-93-5072